วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนดรุณาราชบุรี ปีการศึกษา 2555

คำอธิบายรายวิชา
           อ่านบทร้อยแก้วที่เป็นบทบรรยายและบทพรรณนา อ่านคำประพันธ์ชนิดต่างๆ กลอนบทละครกลอนนิทาน กาพย์ห่อโคลง อ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ จับใจความสำคัญ และคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการอ่าน ใช้แผนผังความคิด เพื่อแสดงความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน มีมารยาทในการอ่าน มุ่งมั่นในการทำงาน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ใช้ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม
ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารรูปแบบต่างๆ การคัดลายมือตัวบรรจงตามรูปแบบการ
เขียนอักษรไทย  มีความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์ ย่อความจากสื่อต่างๆ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า และสามารถนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีมารยาทในการเขียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและรักความเป็นไทย
                     การฟัง การดู และการพูด สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิดและความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็นพูดเกี่ยวกับความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดู การพูดวิเคราะห์และวิจารณ์จากเรื่องที่ฟังและดูมีความสามารถในการรับและส่งสารรวมทั้งเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งมีมารยาทในการฟังดูและการพูด

รหัสตัวชี้วัด
 1.1 .2/1        1.1 .2/2        1.1 .2/3        1.1 .2/4        1.1 .2/8      
 2.1 .2/1        2.1 .2/2        2.1 .2/3        2.1 .2/4        2.1 .2/5      
 2.1 .2/6        2.1 .2/8        3.1 .2/1        3.1 .2/2        3.1 .2/3      
 3.1 .2/6        4.1 .2/1        4.1 .2/2        5.1 .2/1        5.1 .2/2      
 5.1 .2/3



โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรื่อง  โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   เวลาเรียน 4 ชั่วโมง

1.  สาระสำคัญ
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์  มีทั้งหมด 16  หมวด  มีเนื้อหาที่แนะนำบุคคลให้กระทำและห้ามไม่ให้กระทำเป็นโคลงสุภาษิตที่มีคุณค่า  มีคติข้อคิดที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติแล้วเกิดผลดีจริงและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ที่โดดเด่น

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความเป็นมาของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ได้
2.   พิจารณาคุณค่าโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการได้
3.   นำข้อคิดหรือคุณค่าจากเรื่องไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

3.  สาระการเรียนรู้
โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
1.   ความเป็นมา
2.   ประวัติผู้แต่ง
3.   ลักษณะคำประพันธ์
4.   เนื้อเรื่อง
5.   การพิจารณาคุณค่า

4.  กิจกรรมการเรียนรู้ 
ชั่วโมงที่ 1-2
1.   ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2.   ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับโคลงสุภาษิตว่า  นักเรียนรู้จักโคลงสุภาษิตใดบ้าง  พร้อมทั้งให้ยกตัวอย่างโคลง 
      สุภาษิตประกอบด้วย  1 -2  บท
3.   ครูกล่าวถึงจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  อันเป็นเรื่องราวความเป็น 
      มาของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์  และยกตัวอย่างให้นักเรียนดูบนกระดานหน้าชั้นเรียน
4.   นักเรียนและครูร่วมกันตีความและบอกความหมายของโคลงตัวอย่าง  เช่น
Three  Things  to  Love
สามสิ่งควรรัก
                                      Courage                             Gentleness                      Affection
                                      ความกล้า                            ความสุภาพ                     ความรักใคร่

                                           ๏  ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย                         ทั้งหทัย  แท้แฮ
                                  สุวภาพพจน์ภายใน                                           จิตพร้อม
                                  ความรักประจักษ์ใจ                                           จริงแน่  นอนฤา
                                  สามสิ่งควรรักน้อม                                            จิตให้สนิทจริงฯ

5.   ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น  10  กลุ่มตามเดิม เพื่อช่วยกันศึกษาความรู้เรื่องโคลงสุภาษิตโสฬส
                  ไตรยางค์ตามหัวข้อที่กำหนด  ดังนี้
      -     ความเป็นมา
      -     ประวัติผู้แต่ง
      -     ลักษณะคำประพันธ์
      -     เนื้อเรื่อง (สรุปโคลงแต่ละบท)
6.   ครูแจกบัตรคำถามกลุ่มละ  2  บัตรคำถาม  (บัตรคำถามไม่ใช้คำถามซ้ำกัน)  แล้วให้ช่วยกันหาคำตอบโดย               
      ตัวแทนของกลุ่มลุกขึ้นอ่านคำถามและตอบคำถามให้ชัดเจน
7.   นักเรียนกลุ่มอื่นร่วมกันตรวจสอบคำตอบ  หรือครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเพิ่มเติมหลังจากตอบคำถาม 
      จบแล้ว
ชั่วโมงที่ 3-4

1.   ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันยกตัวอย่างข้อคิดที่ได้รับจากการศึกษาโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
2.   มอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาการพิจารณาคุณค่าโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์  กำหนดเวลา  15  นาที
3.   ครูสุ่มหรือสลับกลุ่มบอกคุณค่าของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์  แต่ละโคลงจนจบ
4.   ครูช่วยสรุปคุณค่าที่ได้รับจากการศึกษาโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
5.   ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตอนที่ 2  ข้อ  2  จากสื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน คู่สร้าง
      ภาษาไทย  วรรณคดีและวรรณกรรม  ม. 2

5.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
            1.   สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  คู่สร้างภาษาไทย  วรรณคดีและวรรณกรรม  ม. 2
            2.   บัตรคำถาม        

6.  การวัดและประเมินผล
       6.1      วิธีการวัดและประเมินผล
                   -     ประเมินจากการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

       6.2      เครื่องมือวัดและประเมินผล
                   -     แบบประเมินตามสภาพจริง

       6.3      เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                   -     แบบประเมินตามสภาพจริง  ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3


 แบบประเมินตามสภาพจริง

ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
5
4
3
2
1
1
ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา





2
กระบวนการคิดวิเคราะห์ ประเมินค่า





3
การแสดงความคิดเห็น





4
ความมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน





5
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย





6
ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย






ลงชื่อ..............................................................ผู้ประเมิน
                                                                                                                   (.............................................................)
                                                                                                                   ............./............./.............
เกณฑ์การประเมิน
5  คะแนน  ดีมาก
4  คะแนน  ดี
3  คะแนน  ผ่าน
2  คะแนน  ปรับปรุง
1  คะแนน  ไม่ผ่าน


อยู่ๆก็มาปรากฏตัวในหัวใจ

ศิราพร บุญฤทธิ์